สักการะพระพุทธรูปสำคัญในวันคล้ายวันสถาปนาเมืองเชียงใหม่
11/04/2567
188
ตามศิลาจารึกวัดเชียงมั่นระบุว่าเมืองเชียงใหม่สถาปนาขึ้นโดยพญามังราย เมื่อศักราช ๖๕๘ ปีรวายสัน เดือนวิสาขะ ออก ๘ ค่ำ วัน ๕ ไทยเมืองเปล้า ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๘๓๙
ในโอกาสครบ ๗๒๘ ปี แห่งการสถาปนาเมืองเชียงใหม่ และเนื่องในประเพณีปี๋ใหม่เมือง ประจำปี ๒๕๖๗ เราจะพาทุกท่านทัวร์ ๙ วัดทั่วเมืองเชียงใหม่ เพื่อสักการะพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งทุกปีในช่วงปี๋ใหม่เมือง จะมีการอัญเชิญออกมาให้ชาวเชียงใหม่และนักท่องเที่ยวได้สักการะและสรงน้ำเพื่อความเป็นสิริมงคล
#พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์จังหวัดเชียงใหม่ #trdmuseumcm #สงกรานต์ #ปีใหม่เมือง #สรงน้ําพร #เที่ยวเชียงใหม่ #เที่ยววัด

พระเสตังคมณี วัดเชียงมั่น
ถนนราชภาคินัย ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่
พระเสตังคมณี เดิมชื่อ “พระแก้วขาว” ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานล่วงแล้ว ๗๐๐ ปี พระสุเทวฤๅษีได้นำดอกจำปา ๕ ดอก ขึ้นไปบูชาพระจุฬามณียังดาวดึงส์สวรรค์ และทราบข่าวจากพระอินทร์ว่าพระเจ้ากรุงละโว้ (ลพบุรี) จะสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วสีขาว เมื่อกลับจากดาวดึงส์สวรรค์ พระสุเทวฤๅษีจึงเดินทางไปร่วมสร้างและประดิษฐานพระแก้วขาวไว้ที่เมืองละโว้ ต่อมาเมื่อพระสุเทวฤๅษีสร้างเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) และเชิญพระนางจามเทวี พระราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ มาครองเมือง พระนางจึงอัญเชิญพระแก้วขาว มาเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์
พระแก้วขาวประดิษฐานอยู่ที่เมืองหริภุญไชยหลายร้อยปี กระทั่งปี พ.ศ. ๑๘๒๔ พญามังรายยกทัพเข้าตีเมือง และทอดพระเนตรเห็นพระแก้วขาวซึ่งรอดพ้นจากการถูกเพลิงไหม้ ทรงเกิดพระราชศรัทธาอย่างยิ่ง ครั้นทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานในคุ้มหลวงหรือพระราชวังอันเป็นที่ตั้งของวัดเชียงมั่นตราบจนปัจจุบัน และด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของพระแก้วขาว จึงเป็นที่นับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่สามารถคุ้มครองป้องกันอันตรายและอำนวยความสุขสวัสดิมงคลให้แก่ผู้เคารพศรัทธา
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์เชียงใหม่นิวส์ https://www.chiangmainews.co.th

พระเสตังคมณี เดิมชื่อ “พระแก้วขาว” ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานล่วงแล้ว ๗๐๐ ปี พระสุเทวฤๅษีได้นำดอกจำปา ๕ ดอก ขึ้นไปบูชาพระจุฬามณียังดาวดึงส์สวรรค์ และทราบข่าวจากพระอินทร์ว่าพระเจ้ากรุงละโว้ (ลพบุรี) จะสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วสีขาว เมื่อกลับจากดาวดึงส์สวรรค์ พระสุเทวฤๅษีจึงเดินทางไปร่วมสร้างและประดิษฐานพระแก้วขาวไว้ที่เมืองละโว้ ต่อมาเมื่อพระสุเทวฤๅษีสร้างเมืองหริภุญไชย (ลำพูน) และเชิญพระนางจามเทวี พระราชธิดาของพระเจ้ากรุงละโว้ มาครองเมือง พระนางจึงอัญเชิญพระแก้วขาว มาเป็นพระพุทธรูปบูชาประจำพระองค์
พระแก้วขาวประดิษฐานอยู่ที่เมืองหริภุญไชยหลายร้อยปี กระทั่งปี พ.ศ. ๑๘๒๔ พญามังรายยกทัพเข้าตีเมือง และทอดพระเนตรเห็นพระแก้วขาวซึ่งรอดพ้นจากการถูกเพลิงไหม้ ทรงเกิดพระราชศรัทธาอย่างยิ่ง ครั้นทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. ๑๘๓๙ จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานในคุ้มหลวงหรือพระราชวังอันเป็นที่ตั้งของวัดเชียงมั่นตราบจนปัจจุบัน และด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของพระแก้วขาว จึงเป็นที่นับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่สามารถคุ้มครองป้องกันอันตรายและอำนวยความสุขสวัสดิมงคลให้แก่ผู้เคารพศรัทธา
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์เชียงใหม่นิวส์ https://www.chiangmainews.co.th

พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่
ตามความเชื่อของคนไทยเชื่อว่าเมื่อพระพุทธสิหิงค์ประทับอยู่ที่ใด จะทำให้พระพุทธศาสนา ณ ที่แห่งนั้นเจริญรุ่งเรือง พระพุทธสิหิงค์จึงถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง และเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเทศกาลสงกรานต์ คำว่า “พระพุทธสิหิงค์” เป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปศิลปะลังกา ตามตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นครั้งแรกโดยพระเจ้ากรุงลังกา (สิงหล) เมื่อราว พ.ศ. ๗๐๐ รูปแบบศิลปะดังกล่าวส่งอิทธิพลต่อการสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโบราณ ซึ่งรวมถึงอาณาจักรล้านนาด้วย
สำหรับพระพุทธสิหิงค์ หรือที่ชาวเชียงใหม่นิยมเรียกว่า “พระสิงห์” ซึ่งประดิษฐานในวิหารลายคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ศิลปะล้านนาแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นพระพุทธรูปสำคัญซึ่งมีพุทธานุภาพและเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวเชียงใหม่ และในวันปี๋ใหม่เมืองจะมีการอัญเชิญออกประดิษฐานบนรถบุษบกแห่ไปรอบเมืองเพื่อให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำเป็นประเพณีสืบมา
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม https://www.culture.go.th
- เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม https://www.silpa-mag.com
- หนังสือ “วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่”

ตามความเชื่อของคนไทยเชื่อว่าเมื่อพระพุทธสิหิงค์ประทับอยู่ที่ใด จะทำให้พระพุทธศาสนา ณ ที่แห่งนั้นเจริญรุ่งเรือง พระพุทธสิหิงค์จึงถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง และเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเทศกาลสงกรานต์ คำว่า “พระพุทธสิหิงค์” เป็นชื่อเรียกพระพุทธรูปศิลปะลังกา ตามตำนานเล่าว่าสร้างขึ้นครั้งแรกโดยพระเจ้ากรุงลังกา (สิงหล) เมื่อราว พ.ศ. ๗๐๐ รูปแบบศิลปะดังกล่าวส่งอิทธิพลต่อการสร้างพระพุทธรูปในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโบราณ ซึ่งรวมถึงอาณาจักรล้านนาด้วย
สำหรับพระพุทธสิหิงค์ หรือที่ชาวเชียงใหม่นิยมเรียกว่า “พระสิงห์” ซึ่งประดิษฐานในวิหารลายคำ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ศิลปะล้านนาแบบเชียงแสนสิงห์หนึ่ง อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ เป็นพระพุทธรูปสำคัญซึ่งมีพุทธานุภาพและเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวเชียงใหม่ และในวันปี๋ใหม่เมืองจะมีการอัญเชิญออกประดิษฐานบนรถบุษบกแห่ไปรอบเมืองเพื่อให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำเป็นประเพณีสืบมา
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม https://www.culture.go.th
- เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม https://www.silpa-mag.com
- หนังสือ “วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่”

พระพุทธนรสีห์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสน เดิมประดิษฐานบนฐานชุกชีในพระวิหารหลวง ก่อนได้รับการอัญเชิญโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไปประดิษฐานยังพระนคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ปัจจุบันประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
พระพุทธนรสีห์ถือเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในทางมงคล ดังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เล่าไว้ในนิทานโบราณคดีว่า “...เป็นพระมีอภินิหารให้เกิดสวัสดิมงคล อ้างว่าตัวฉัน ผู้เชิญลงมา ไม่ช้าก็ได้เลื่อนยศจากกรมหมื่นขึ้นเป็นกรมหลวง พระพุฒาจารย์ (มา) เมื่อยังเป็นพระมงคลทิพมุนีผู้อำนวยการปฏิสังขรณ์เป็นพระราชาคณะสามัญก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ชั้นเทพ แม้พระภิกษุเปี่ยมช่างหล่อผู้แต่งพระพุทธนรสีห์ ต่อมาไม่ช้าก็ได้มีสมณศักดิ์เป็นที่พระครูมงคลวิจิตร...”
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์มติชนอคาเดมี่ https://www.matichonacademy.com

พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสน เดิมประดิษฐานบนฐานชุกชีในพระวิหารหลวง ก่อนได้รับการอัญเชิญโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ไปประดิษฐานยังพระนคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ปัจจุบันประดิษฐาน ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
พระพุทธนรสีห์ถือเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในทางมงคล ดังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เล่าไว้ในนิทานโบราณคดีว่า “...เป็นพระมีอภินิหารให้เกิดสวัสดิมงคล อ้างว่าตัวฉัน ผู้เชิญลงมา ไม่ช้าก็ได้เลื่อนยศจากกรมหมื่นขึ้นเป็นกรมหลวง พระพุฒาจารย์ (มา) เมื่อยังเป็นพระมงคลทิพมุนีผู้อำนวยการปฏิสังขรณ์เป็นพระราชาคณะสามัญก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ชั้นเทพ แม้พระภิกษุเปี่ยมช่างหล่อผู้แต่งพระพุทธนรสีห์ ต่อมาไม่ช้าก็ได้มีสมณศักดิ์เป็นที่พระครูมงคลวิจิตร...”
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์มติชนอคาเดมี่ https://www.matichonacademy.com

พระอัฏฐารส วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่
พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปปางประทานอภัย ศิลปะล้านนา อิทธิพลสุโขทัย ประทับยืนในซุ้มนาค โดยมีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร พระอัครสาวก อยู่เคียงข้าง
พระอัฏฐารส แปลว่า พระสิบแปด อันหมายถึงพุทธธรรม ๑๘ ประการ หรือพุทธคุณอันประเสริฐของพระพุทธองค์ ตามประวัติกล่าวว่าเมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา ผู้สร้างวัดเจดีย์หลวง สวรรคต พระนางติโลกจุฑาราชเทวี พระมเหสี ได้ก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จและโปรดให้สร้างพระอัฏฐารส พร้อมพระอัครสาวก ซึ่งในการหล่อพระอัฏฐารส พระเถระนามว่า “นราจาริยะ” เจ้าอาวาสวัดได้ลองบุญญาภินิหาร โดยกระทำสัตยาธิษฐานแล้วอุ้มเบ้าหลอมอันร้อนด้วยมือ ยกขึ้นตั้งเหนือศีรษะ นำไปหล่อโดยไม่รู้สึกร้อนไหม้ ผู้คนทั้งหลายเห็นดังนั้นจึงเกิดความอัศจรรย์ และพากันแซ่ซ้องสาธุการทั่วทั้งเมือง
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกลางทางด้านศาสนา กรมการศาสนา https://e-service.dra.go.th
- เว็บไซต์มติชนสุดสัปดาห์ https://www.matichonweekly.com
ที่มาภาพ
- https://e-service.dra.go.th/religion/item?religiontype=&Searchtype=Objects&itemid=2068

พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปปางประทานอภัย ศิลปะล้านนา อิทธิพลสุโขทัย ประทับยืนในซุ้มนาค โดยมีพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร พระอัครสาวก อยู่เคียงข้าง
พระอัฏฐารส แปลว่า พระสิบแปด อันหมายถึงพุทธธรรม ๑๘ ประการ หรือพุทธคุณอันประเสริฐของพระพุทธองค์ ตามประวัติกล่าวว่าเมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา ผู้สร้างวัดเจดีย์หลวง สวรรคต พระนางติโลกจุฑาราชเทวี พระมเหสี ได้ก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จและโปรดให้สร้างพระอัฏฐารส พร้อมพระอัครสาวก ซึ่งในการหล่อพระอัฏฐารส พระเถระนามว่า “นราจาริยะ” เจ้าอาวาสวัดได้ลองบุญญาภินิหาร โดยกระทำสัตยาธิษฐานแล้วอุ้มเบ้าหลอมอันร้อนด้วยมือ ยกขึ้นตั้งเหนือศีรษะ นำไปหล่อโดยไม่รู้สึกร้อนไหม้ ผู้คนทั้งหลายเห็นดังนั้นจึงเกิดความอัศจรรย์ และพากันแซ่ซ้องสาธุการทั่วทั้งเมือง
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลกลางทางด้านศาสนา กรมการศาสนา https://e-service.dra.go.th
- เว็บไซต์มติชนสุดสัปดาห์ https://www.matichonweekly.com
ที่มาภาพ
- https://e-service.dra.go.th/religion/item?religiontype=&Searchtype=Objects&itemid=2068

พระเจ้าฝนแสนห่า วัดช่างแต้ม
ถนนพระปกเกล้า ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่
พระเจ้าฝนแสนห่า หรือพระเจ้าฝน เป็นคำเรียกพระพุทธรูปซึ่งชาวล้านนาเชื่อว่ามีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์สามารถบันดาลให้เกิดฝนตกต้องตามฤดูกาล แม้ท้องฟ้าเต็มไปด้วยแสงแดดก็กลับมืดครึ้มเหมือนฝนกำลังจะตก ด้วยความศักดิ์สิทธิ์นี้จึงทำให้เป็นที่เคารพกราบไหว้ของชาวเชียงใหม่ด้วยจิตใจอันศรัทธา
พระเจ้าฝนแสนห่า ซึ่งประดิษฐานที่วัดช่างแต้ม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน อิทธิพลลังกา อายุประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าปี ตามตำนานพื้นเมือง กล่าวว่า เดิมเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์ผู้ครองเมืองหริภุญไชย ต่อมาได้รับการอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงใหม่ แต่ไม่พบหลักฐานหรือเอกสารที่กล่าวว่าเหตุใดจึงมาประดิษฐานที่วัดช่างแต้ม
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://accl.cmu.ac.th
- เว็บไซต์เชียงใหม่นิวส์ https://www.chiangmainews.co.th

พระเจ้าฝนแสนห่า หรือพระเจ้าฝน เป็นคำเรียกพระพุทธรูปซึ่งชาวล้านนาเชื่อว่ามีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์สามารถบันดาลให้เกิดฝนตกต้องตามฤดูกาล แม้ท้องฟ้าเต็มไปด้วยแสงแดดก็กลับมืดครึ้มเหมือนฝนกำลังจะตก ด้วยความศักดิ์สิทธิ์นี้จึงทำให้เป็นที่เคารพกราบไหว้ของชาวเชียงใหม่ด้วยจิตใจอันศรัทธา
พระเจ้าฝนแสนห่า ซึ่งประดิษฐานที่วัดช่างแต้ม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน อิทธิพลลังกา อายุประมาณ ๑,๐๐๐ กว่าปี ตามตำนานพื้นเมือง กล่าวว่า เดิมเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์ผู้ครองเมืองหริภุญไชย ต่อมาได้รับการอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ เมืองเชียงใหม่ แต่ไม่พบหลักฐานหรือเอกสารที่กล่าวว่าเหตุใดจึงมาประดิษฐานที่วัดช่างแต้ม
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและล้านนาสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ https://accl.cmu.ac.th
- เว็บไซต์เชียงใหม่นิวส์ https://www.chiangmainews.co.th

พระพุทธรูปปางนาคปรก วัดพันอ้น
ถนนราชดำเนิน ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่
ตามความเชื่อของคนไทยเชื่อว่าพระพุทธรูปปางนาคปรกเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ด้านการปกป้องคุ้มครอง มีที่มาจากเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว ในสัปดาห์ที่ ๓ ได้ประทับอยู่ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ขณะนั้นฝนตกลงมาไม่หยุดเป็นเวลา ๗ วัน พญานาคชื่อว่า “มุจลินท์นาคราช” จึงขึ้นมาแสดงอิทธิฤทธิ์ เข้าไปวงขนด ๗ รอบ และแผ่พังพานปกป้องคุ้มครองพระพุทธองค์ไว้
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าพระปางนี้ศักดิ์สิทธิ์ทางเมตตา อันเป็นการสอนทางอ้อมให้ระลึกถึงอานิสงส์ของความเมตตาที่จะเกิดผลดีต่อผู้ปฏิบัติ ดังที่พญานาคขึ้นจากน้ำมาถวายอารักขาพระพุทธเจ้า ด้วยพลานุภาพแห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่สัมผัสได้
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม https://www.culture.go.th
ที่มาภาพ
- https://www.youtube.com/watch?v=tuIMYsgMYjY

ตามความเชื่อของคนไทยเชื่อว่าพระพุทธรูปปางนาคปรกเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ด้านการปกป้องคุ้มครอง มีที่มาจากเมื่อครั้งพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้แล้ว ในสัปดาห์ที่ ๓ ได้ประทับอยู่ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ขณะนั้นฝนตกลงมาไม่หยุดเป็นเวลา ๗ วัน พญานาคชื่อว่า “มุจลินท์นาคราช” จึงขึ้นมาแสดงอิทธิฤทธิ์ เข้าไปวงขนด ๗ รอบ และแผ่พังพานปกป้องคุ้มครองพระพุทธองค์ไว้
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อว่าพระปางนี้ศักดิ์สิทธิ์ทางเมตตา อันเป็นการสอนทางอ้อมให้ระลึกถึงอานิสงส์ของความเมตตาที่จะเกิดผลดีต่อผู้ปฏิบัติ ดังที่พญานาคขึ้นจากน้ำมาถวายอารักขาพระพุทธเจ้า ด้วยพลานุภาพแห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่สัมผัสได้
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม https://www.culture.go.th
ที่มาภาพ
- https://www.youtube.com/watch?v=tuIMYsgMYjY

หลวงพ่อดับภัย วัดดับภัย
ถนนสิงหราช ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่
หลวงพ่อดับภัย หรือ พระเจ้าดับภัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา (พระสิงห์) ตามประวัติกล่าวว่าสร้างโดยพญาอภัย กรมการเมืองเชียงแสน (ตำแหน่งทางราชการในสมัยนั้น) ภายหลังย้ายมาทำราชการ ณ เมืองไชยปราการ (อำเภอฝางปัจจุบัน) ได้ล้มป่วย แม้ทำการรักษาแล้วแต่อาการไม่ทุเลา จึงตั้งจิตอธิษฐานต่อหลวงพ่อดับภัยกระทั่งอาการป่วยหายโดยฉับพลัน พญาอภัยจึงปรารถนาประดิษฐานหลวงพ่อดับภัยให้ชาวเมืองได้สักการะบูชาโดยทั่วกัน โดยเลือกวัดตุงกระด้าง ซึ่งเป็นวัดที่เจ้าขุนมูลนายในเมืองเชียงใหม่เดินทางมาทำบุญอยู่มิได้ขาด เป็นที่ประดิษฐาน และเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดดับภัย”
จวบจนปัจจุบัน ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อดับภัย ทำให้มีผู้ศรัทธาจากทั่วสารทิศเดินทางมาขอพรเพื่อให้แคล้วคลาดจากโรคภัยไข้เจ็บ ปลอดภัยจากการเดินทาง ตลอดจนสมปรารถนาในโชคลาภต่าง ๆ
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์เชียงใหม่นิวส์ https://www.chiangmainews.co.th

หลวงพ่อดับภัย หรือ พระเจ้าดับภัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา (พระสิงห์) ตามประวัติกล่าวว่าสร้างโดยพญาอภัย กรมการเมืองเชียงแสน (ตำแหน่งทางราชการในสมัยนั้น) ภายหลังย้ายมาทำราชการ ณ เมืองไชยปราการ (อำเภอฝางปัจจุบัน) ได้ล้มป่วย แม้ทำการรักษาแล้วแต่อาการไม่ทุเลา จึงตั้งจิตอธิษฐานต่อหลวงพ่อดับภัยกระทั่งอาการป่วยหายโดยฉับพลัน พญาอภัยจึงปรารถนาประดิษฐานหลวงพ่อดับภัยให้ชาวเมืองได้สักการะบูชาโดยทั่วกัน โดยเลือกวัดตุงกระด้าง ซึ่งเป็นวัดที่เจ้าขุนมูลนายในเมืองเชียงใหม่เดินทางมาทำบุญอยู่มิได้ขาด เป็นที่ประดิษฐาน และเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดดับภัย”
จวบจนปัจจุบัน ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อดับภัย ทำให้มีผู้ศรัทธาจากทั่วสารทิศเดินทางมาขอพรเพื่อให้แคล้วคลาดจากโรคภัยไข้เจ็บ ปลอดภัยจากการเดินทาง ตลอดจนสมปรารถนาในโชคลาภต่าง ๆ
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์เชียงใหม่นิวส์ https://www.chiangmainews.co.th

พระสัพพัญญูเจ้าเดชเมือง วัดเชียงยืน
ถนนมณีนพรัตน์ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่
พระสัพพัญญูเจ้า เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ศิลปะเชียงแสน เป็นที่เคารพสักการะของกษัตริย์ ผู้ปกครองเมือง และชาวเมืองทั่วไปมาตั้งแต่สมัยโบราณ นอกจากนี้ วัดเชียงยืนอันเป็นที่ประดิษฐานพระสัพพัญญูเจ้า ยังเป็นวัดที่มีความสำคัญ ด้วยตั้งอยู่ในทิศอุดร (ทิศเหนือ) ซึ่งเป็นตำแหน่งของเดชเมือง ตามคัมภีร์มหาทักษา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นคู่กับวัดเชียงมั่น ตามพระราชประสงค์ของพญามังราย ให้เป็นวัดที่มีนามมงคลสื่อถึงความมั่นคงยั่งยืน ทำให้กษัตริย์ที่จะเข้ามาปกครองเมือง หรือนำกองทัพออกศึกสงครามหรือกลับเข้าเมือง ต้องมาเปลี่ยนฉลองพระองค์และทำพิธีสักการะพระสัพพัญญูเจ้า เพื่อความเป็นสิริมงคล เช่นเดียวกับปัจจุบันที่มีผู้นิยมเดินทางมาทำบุญและไหว้พระเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ตามความหมายอันเป็นมงคลของชื่อ “เชียงยืน” ที่สื่อถึงชีวิตที่ยืนยาว และชื่อ “พระสัพพัญญูเจ้า” ที่หมายถึงอำนาจบารมีที่ยิ่งใหญ่
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์สุดยอดที่เที่ยวเชียงใหม่ https://www.topchiangmai.com
- เว็บไซต์ปักหมุดเมืองไทย https://pukmudmuangthai.com

พระสัพพัญญูเจ้า เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ศิลปะเชียงแสน เป็นที่เคารพสักการะของกษัตริย์ ผู้ปกครองเมือง และชาวเมืองทั่วไปมาตั้งแต่สมัยโบราณ นอกจากนี้ วัดเชียงยืนอันเป็นที่ประดิษฐานพระสัพพัญญูเจ้า ยังเป็นวัดที่มีความสำคัญ ด้วยตั้งอยู่ในทิศอุดร (ทิศเหนือ) ซึ่งเป็นตำแหน่งของเดชเมือง ตามคัมภีร์มหาทักษา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นคู่กับวัดเชียงมั่น ตามพระราชประสงค์ของพญามังราย ให้เป็นวัดที่มีนามมงคลสื่อถึงความมั่นคงยั่งยืน ทำให้กษัตริย์ที่จะเข้ามาปกครองเมือง หรือนำกองทัพออกศึกสงครามหรือกลับเข้าเมือง ต้องมาเปลี่ยนฉลองพระองค์และทำพิธีสักการะพระสัพพัญญูเจ้า เพื่อความเป็นสิริมงคล เช่นเดียวกับปัจจุบันที่มีผู้นิยมเดินทางมาทำบุญและไหว้พระเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ตามความหมายอันเป็นมงคลของชื่อ “เชียงยืน” ที่สื่อถึงชีวิตที่ยืนยาว และชื่อ “พระสัพพัญญูเจ้า” ที่หมายถึงอำนาจบารมีที่ยิ่งใหญ่
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์สุดยอดที่เที่ยวเชียงใหม่ https://www.topchiangmai.com
- เว็บไซต์ปักหมุดเมืองไทย https://pukmudmuangthai.com

พระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก พระอารามหลวง
ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่
พระเจ้าเก้าตื้อ พระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่และงดงามที่สุดในล้านนา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ศิลปะล้านนาแบบเชียงแสนสิงห์สอง อิทธิพลศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ ตามพงศาวดารโยนกระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๔๗ ในสมัยพระเมืองแก้ว ทั้งนี้ ชื่อ “เก้าตื้อ” มีที่มาจากน้ำหนักขององค์พระซึ่งหนักถึง ๙,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๙ ตื้อ (ตื้อ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักโลหะของล้านนาในสมัยโบราณ โดย ๑ ตื้อ เท่ากับ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม)
พระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระพุทธรูปที่มีกิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศ เหตุเพราะมีอิทธิปาฏิหาริย์อย่างน่าอัศจรรย์ สามารถดลบันดาลให้ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสประสบสิ่งอันพึงปรารถนาและสรรพมิ่งมงคล ว่ากันว่าผู้ที่กลุ้มใจเศร้าหมอง เมื่อได้มานั่งบูชาอธิษฐานตรงหน้าพระพักตร์ เพ่งจิตให้เกิดสมาธิ จ้องไปที่พระวรกายและพระพักตร์ จะเกิดอิทธิฤทธิ์อันลี้ลับประหลาด เสมือนพระเจ้าเก้าตื้อเผยโอษฐ์ยิ้มแย้ม ตรัสปราศรัย และฉายแสงธรรมรังษีเข้าไปขับไล่สิ่งเศร้าหมองในใจผู้เพ่งมองให้หายกลายเป็นความชุ่มชื่นเบิกบาน
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม https://www.silpa-mag.com
- เว็บไซต์กรมศิลปากร https://www.finearts.go.th
- เว็บไซต์เชียงใหม่นิวส์ https://www.chiangmainews.co.th
- เว็บไซต์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา https://thailandtourismdirectory.go.th
ที่มาภาพ
- https://thai.tourismthailand.org

พระเจ้าเก้าตื้อ พระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่และงดงามที่สุดในล้านนา เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ศิลปะล้านนาแบบเชียงแสนสิงห์สอง อิทธิพลศิลปะสุโขทัยหมวดใหญ่ ตามพงศาวดารโยนกระบุว่าสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๐๔๗ ในสมัยพระเมืองแก้ว ทั้งนี้ ชื่อ “เก้าตื้อ” มีที่มาจากน้ำหนักขององค์พระซึ่งหนักถึง ๙,๐๐๐ กิโลกรัม หรือ ๙ ตื้อ (ตื้อ เป็นหน่วยวัดน้ำหนักโลหะของล้านนาในสมัยโบราณ โดย ๑ ตื้อ เท่ากับ ๑,๐๐๐ กิโลกรัม)
พระเจ้าเก้าตื้อเป็นพระพุทธรูปที่มีกิตติศัพท์เลื่องลือไปทั่วทุกสารทิศ เหตุเพราะมีอิทธิปาฏิหาริย์อย่างน่าอัศจรรย์ สามารถดลบันดาลให้ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสประสบสิ่งอันพึงปรารถนาและสรรพมิ่งมงคล ว่ากันว่าผู้ที่กลุ้มใจเศร้าหมอง เมื่อได้มานั่งบูชาอธิษฐานตรงหน้าพระพักตร์ เพ่งจิตให้เกิดสมาธิ จ้องไปที่พระวรกายและพระพักตร์ จะเกิดอิทธิฤทธิ์อันลี้ลับประหลาด เสมือนพระเจ้าเก้าตื้อเผยโอษฐ์ยิ้มแย้ม ตรัสปราศรัย และฉายแสงธรรมรังษีเข้าไปขับไล่สิ่งเศร้าหมองในใจผู้เพ่งมองให้หายกลายเป็นความชุ่มชื่นเบิกบาน
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์ศิลปวัฒนธรรม https://www.silpa-mag.com
- เว็บไซต์กรมศิลปากร https://www.finearts.go.th
- เว็บไซต์เชียงใหม่นิวส์ https://www.chiangmainews.co.th
- เว็บไซต์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา https://thailandtourismdirectory.go.th
ที่มาภาพ
- https://thai.tourismthailand.org

พระเจ้า 700 ปี ศรีเมืองเชียงใหม่ วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง
ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลำปาง ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่
พระเจ้า ๗๐๐ ปี ศรีเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในโอกาสที่เมืองเชียงใหม่มีอายุครบ ๗๐๐ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรเหนือปัทมบัลลังก์ ศิลปะล้านนาผสมศิลปะสุโขทัย งดงามด้วยการรวมเอาพุทธลักษณะของพระพุทธรูปสำคัญในเมืองเชียงใหม่เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง เช่น พระพุทธสิหิงค์ พระเจ้าเก้าตื้อ ฯลฯ ฐานด้านหน้าประดับตราสัญลักษณ์สมโภชเมืองเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี มีอักษรธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง) และอักษรภาษาไทยว่า “พระเจ้า ๗๐๐ ปี ศรีเมืองเชียงใหม่” ฐานด้านหลังประดับดวงเมืองเชียงใหม่ ใต้ดวงเมืองเป็นอักษรภาษาไทยว่า “๑๒ เมษายน ๒๕๓๙” และ “สมโภชเมืองเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี พ.ศ. 2539”
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์เชียงใหม่นิวส์ https://www.chiangmainews.co.th
- หนังสือ “วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่”
ที่มาภาพ
- https://www.chiangmainews.co.th/news/1403220

พระเจ้า ๗๐๐ ปี ศรีเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในโอกาสที่เมืองเชียงใหม่มีอายุครบ ๗๐๐ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรเหนือปัทมบัลลังก์ ศิลปะล้านนาผสมศิลปะสุโขทัย งดงามด้วยการรวมเอาพุทธลักษณะของพระพุทธรูปสำคัญในเมืองเชียงใหม่เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง เช่น พระพุทธสิหิงค์ พระเจ้าเก้าตื้อ ฯลฯ ฐานด้านหน้าประดับตราสัญลักษณ์สมโภชเมืองเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี มีอักษรธรรมล้านนา (ตั๋วเมือง) และอักษรภาษาไทยว่า “พระเจ้า ๗๐๐ ปี ศรีเมืองเชียงใหม่” ฐานด้านหลังประดับดวงเมืองเชียงใหม่ ใต้ดวงเมืองเป็นอักษรภาษาไทยว่า “๑๒ เมษายน ๒๕๓๙” และ “สมโภชเมืองเชียงใหม่ ๗๐๐ ปี พ.ศ. 2539”
ที่มาข้อมูล
- เว็บไซต์เชียงใหม่นิวส์ https://www.chiangmainews.co.th
- หนังสือ “วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่”
ที่มาภาพ
- https://www.chiangmainews.co.th/news/1403220